ร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2553

จากปรากฏการณ์ลา นิญา (La Nina) ที่มาเร็วกว่าปกติทำให้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมหนักในหลายจังหวัดของประเทศไทย เช่น นครราชสีมา ซึ่งน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 50 ปี, ลพบุรี น้ำท่วมหนักจนต้องประกาศเขตภัยพิบัติทั้ง 11 อำเภอ หรือทั้งจังหวัด, ชัยภูมิ, นครสวรรค์, และอีกหลายแห่งในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยที่คาดว่าฝนจะยังตกหนักต่อไปถึงเดือนพฤศจิกายน และกรุงเทพมหานครก็มีความเสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมหนักเช่นกันหากน้ำทะเลหนุนสูง


น้ำท่วมที่โคราช

ขอเชิญชวนชาวไทยทุกท่าน ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 โดยสามารถบริจาคเงินร่วมกับกองทุนช่วยเหลือต่างๆ ต่อไปนี้

Read more »

รู้จักกับ 15 เถ้าแก่…จากอดีตพนักงานไมโครซอฟท์

ไมโครซอฟท์ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีของโลก ไม่เพียงจะคิดค้นเทคนิคการสัมภาษณ์ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่บริษัทยังเติบโตขึ้นจนมีพนักงานกว่า 88,593 คนนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี 1975

ปัจจุบันไมโครซอฟท์รู้ดีว่าจะ ค้นหาผู้สมัครที่มีศักยภาพด้านเทคนิคอย่างไร ผลที่ได้รับนอกจากพวกเขาจะได้พนักงานที่ยอดเยี่ยมแล้ว ยังได้สร้างผู้ประกอบการชั้นยอดขึ้นมาอีกด้วย

แน่ละ พนักงานของไมโครซอฟท์บางคนตัดสินใจว่าเค้าจะลองเป็น บิล เกตต์ ดู แทนที่จะทำงานให้บิล เกตต์เท่านั้น ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมาอดีตพนักงานเหล่านี้ได้สร้างสรรค์บริษัทใหม่ขึ้นมามากมายที่ล้วน น่าประทับใจทั้งสิ้น

ลองมาดูกันสักนิดดีกว่า ต่อไปนี้คือ 15 บริษัทที่น่าสนใจที่เกิดจากอตีดพนักงานของไมโครซอฟท์ค่ะ

Read more »

แนวคิดในการจัดการพลังงาน

เทคนิคการประหยัดพลังงานสำหรับอาคารมีด้วยกันมากมายหลายอย่าง แต่พอที่จะสรุปเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการพลังงานได้อยู่ 3 ข้อ แนวคิดนี้ได้มาจากชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาองค์กรของผู้เขียนขณะที่ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานในอดีต ที่ปรึกษาท่านนี้บอกว่า การจัดการพลังงาน(Energy Management) มิใช่การไม่ใช้พลังงาน ถ้าเราประหยัดพลังงานเสียจนต้องกระเบียดกระเสียรและทำให้การดำเนินธุรกิจต้องสะดุดติดขัด เมื่อนั้นก็ผิดวัตถุประสงค์ของการประหยัดพลังงานแล้ว

การประหยัดพลังงานจึงควรดำเนินการโดยที่ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้โดยปกติ แต่ก็มิใช่การใช้อย่างฟุ่มเฟือย ตามธรรมดาแล้ว เมื่อมีการออกแบบอาคารแห่งหนึ่งๆ ผู้ออกแบบจะพิจารณาเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ เพื่อคัดเลือกเครื่องจักรอุปกรณ์และตำแหน่งที่ตั้ง ทิศทางการรับแสงแดด ฯลฯ เพื่อให้อาคารแห่งนั้นมีการใช้พลังงานอย่างประหยัดเท่าที่จะเป็นไปได้

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการใช้งานอาคารไประยะหนึ่ง มักจะพบว่า การออกแบบพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ช่วงต้นนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปมากเนื่องจากวิธีหรือขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ทำให้การใช้สอยระบบต่างๆ ไม่เป็นการประหยัดพลังงานตามที่มีความตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นในช่วงของการก่อสร้าง

ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไรดี? ที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นได้ให้ข้อคิดในการจัดการพลังงาน 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

Read more »

WordPress Themes