Category: ความรู้ในงานบริหารอาคาร

Genedia AMR : ระบบบริหารข้อมูลมิเตอร์อัจฉริยะสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

Genedia AMR เป็นโปรแกรมน้องใหม่ในตระกูล Genedia Series ใช้ในการบริหารข้อมูลมิเตอร์อัจฉริยะ (smart meter) สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นพร้อมโปรแกรม Meter Reading Software (MRS) ซึ่งมีความสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับมิเตอร์อัจฉริยะ และดึงข้อมูลจากมิเตอร์ได้ผ่านโปรโตคอลมาตรฐาน DLMS

มิเตอร์อัจฉริยะที่ใช้มาตรฐาน DLMS นับว่าเป็นมิเตอร์สำหรับยุคใหม่ สามารถส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมิเตอร์ทั้งสิ้นเข้าสู่ระบบงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่อาจเทียบได้กับวิธีการจดบันทึกข้อมูลมิเตอร์แบบเก่าๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ถึงสถานะการใช้พลังงาน ค่าทางไฟฟ้าต่างๆ รวมถึง event log, alarm และ error ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้บริหารพลังงานต่อไป

เมื่อระบบงาน Genedia AMR เชื่อมต่อกับมิเตอร์อัตโนมัติผ่านโปรแกรม Meter Reading Software (สามารถทำได้ผ่านเครือข่าย GSM หรือ GPRS) ระบบงานจะสามารถดึงข้อมูลทางไฟฟ้าของมิเตอร์มาแสดงผลและประมวลผลในรูปแบบต่างๆ นำเสนอให้แก่ผู้ใช้งาน ทั้งนี้รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำกราฟ การตรวจสอบความสัมพันธ์กับลูกค้า (ผู้เช่าของมิเตอร์นั้นๆ) เพื่อใช้ในการจัดทำใบวางบิล นอกจากนี้ระบบงานสามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชีหรือ ERP ได้ด้วย

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายให้ทางบนเส้นเข้าไปสาธิตระบบได้ ที่ฝ่ายขาย 089-018-2251, 02-642-6201 หรือทางอีเมล์ sales@genedia.in.th ค่ะ

 

 

แนวคิดในการจัดการพลังงาน

เทคนิคการประหยัดพลังงานสำหรับอาคารมีด้วยกันมากมายหลายอย่าง แต่พอที่จะสรุปเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการพลังงานได้อยู่ 3 ข้อ แนวคิดนี้ได้มาจากชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาองค์กรของผู้เขียนขณะที่ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานในอดีต ที่ปรึกษาท่านนี้บอกว่า การจัดการพลังงาน(Energy Management) มิใช่การไม่ใช้พลังงาน ถ้าเราประหยัดพลังงานเสียจนต้องกระเบียดกระเสียรและทำให้การดำเนินธุรกิจต้องสะดุดติดขัด เมื่อนั้นก็ผิดวัตถุประสงค์ของการประหยัดพลังงานแล้ว

การประหยัดพลังงานจึงควรดำเนินการโดยที่ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้โดยปกติ แต่ก็มิใช่การใช้อย่างฟุ่มเฟือย ตามธรรมดาแล้ว เมื่อมีการออกแบบอาคารแห่งหนึ่งๆ ผู้ออกแบบจะพิจารณาเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ เพื่อคัดเลือกเครื่องจักรอุปกรณ์และตำแหน่งที่ตั้ง ทิศทางการรับแสงแดด ฯลฯ เพื่อให้อาคารแห่งนั้นมีการใช้พลังงานอย่างประหยัดเท่าที่จะเป็นไปได้

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการใช้งานอาคารไประยะหนึ่ง มักจะพบว่า การออกแบบพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ช่วงต้นนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปมากเนื่องจากวิธีหรือขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ทำให้การใช้สอยระบบต่างๆ ไม่เป็นการประหยัดพลังงานตามที่มีความตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นในช่วงของการก่อสร้าง

ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไรดี? ที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นได้ให้ข้อคิดในการจัดการพลังงาน 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

Read more »

บริหารข้อมูลพลังงานแบบไฮเทค

ภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารอาคาร คือการจัดการเรื่องการใช้พลังงานภายในอาคาร ซึ่งนอกเหนือไปจากความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว การจัดการพลังงานยังมีส่วนต่อต้นทุนและผลกำไรของอาคารด้วย

ตามปกติการบันทึกข้อมูลพลังงานของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา หรือแม้แต่แก๊สหุงต้ม พนักงานช่างประจำอาคารจะเป็นคนคอยจดบันทึก โดยที่จดข้อมูลเดือนละครั้งสำหรับแต่ละพื้นที่เช่าเพื่อนำไปคำนวณค่าใช้จ่ายและวางบิล ส่วนมิเตอร์ใหญ่ของอาคาร ในบางอาคารที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานที่ดี อาจมีการจดบันทึกทุกวัน เพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบอัตราการใช้พลังงานในแต่ละวัน ทำให้สามารถคาดเดาพฤติกรรมการใช้พลังงาน และวางแผนจัดการพลังงานได้อย่างเหมาะสม

การบันทึกข้อมูลพลังงานในรูปแบบดั้งเดิม คือการใช้ meter logsheet เพื่อจดค่าจากมิเตอร์ต่างๆ แล้วนำมาคีย์ข้อมูลลงในตาราง Excel ซึ่งต้องมีการใส่สูตรคำนวณให้ถูกต้อง ก่อนจะนำส่งออกไปสู่ระบบวางบิลของฝ่ายบัญชี

ข้อควรระวังจากรูปแบบการทำงานแบบดั้งเดิม ได้แก่

1. การบันทึกค่ามิเตอร์ไม่ถูกต้อง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การอ่านค่าผิดเนื่องจากสถานที่ไม่อำนวย, การที่มิเตอร์มีหลักอ่านที่ต่างกัน และมีเลขทศนิยม แต่ผู้บันทึกไม่ทราบหรือจดผิด, การเขียนด้วยลายมือทำให้ผู้คีย์ข้อมูลอ่านข้อมูลคลาดเคลื่อน, ปัญหามิเตอร์ครบรอบ เป็นต้น

2. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งไม่สามารถทำได้แบบ online real-time แต่กว่าจะทราบว่าข้อมูลมีปัญหาก็เมื่อมีการวางบิลไปแล้ว เป็นต้น

3. การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง เนื่องจากข้อมูลมิได้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูล การดึงข้อมูลที่สนใจเพื่อนำมาทำบทวิเคราะห์การใช้พลังงานในแง่มุมต่างๆ จึงทำได้ยากลำบาก และใช้เวลา

4. การแจ้งขอระบบไฟฟ้าหรือระบบปรับอากาศล่วงเวลา หากทำแบบ manual อาจมีปัญหาการแจ้งซ้ำซ้อน และการสรุปค่าใช้จ่ายที่มีโอกาสผิดพลาดเนื่องจากเงื่อนไขการคิดค่าล่วงเวลาของแต่ละพื้นที่หรือแต่ละสัญญาแตกต่างกัน

การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยบริหารจัดการข้อมูลพลังงาน ช่วยให้ลดปัญหาความผิดพลาดต่างๆ ลง สามารถแจ้งเตือนได้ทันทีหากเกิดความผิดปกติของข้อมูล ผู้บริหารสามารถทราบความเป็นไปของการใช้พลังงานในอาคารได้แบบ online real-time ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้แก่วิศวกรในการดึงข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์แง่มุมต่างๆ และสามารถจัดทำ report ได้หลากหลายรูปแบบและมุมมอง ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของฝ่ายบริหาร

Genedia Energy Information Management ตอบโจทย์การบริหารข้อมูลพลังงานอย่างครบวงจร ทั้งส่วนของการบันทึกการใช้พลังงานรวมของอาคาร การใช้พลังงานในส่วนย่อยของแต่ละ unit ในอาคาร จนถึงการใช้พลังงานล่วงเวลา ทั้งนี้สามารถสรุปข้อมูลการขอใช้ระบบไฟฟ้าหรือระบบปรับอากาศล่วงเวลา เพื่อส่งออกข้อมูลไปยังฝ่ายช่างสำหรับการปรับตั้งระบบ BAS ให้เปิดปิดอุปกรณ์ได้ตามต้องการ

สนใจรับรายละเอียดของโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถแจ้งขอให้ติดต่อกลับ หรือติดต่อมาที่ฝ่ายขาย sales@genedia.in.th หรือ โทร.0-2642-6201 เพื่อให้ทีมงานของเรานำโปรแกรมไปสาธิตให้ชมได้ค่ะ

ความต้องการซอฟท์แวร์สำหรับอาคารใหญ่

การดูแลและบริหารจัดการอาคารขนาดใหญ่ในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่จะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันกันอย่างสูง ผู้บริหารอาคารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างดีภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าที่สุด ย่อมได้เปรียบกว่าคู่แข่งอื่นๆ

ด้วยคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารขนาดใหญ่ของ Genedia Property Solutions บริษัทฯ ได้รับความกรุณาจาก ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เจ้าของคอลัมน์ “จากสมองคนสู่สมองกลอัจฉริยะ” ในการเผยแพร่ข้อควรคำนึงของซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในอาคารขนาดใหญ่ ดังแสดงในบทความต่อไปนี้ สำหรับท่านที่สนใจรับโบรชัวร์ฉบับเต็ม หรือต้องการข้อมูลเพื่อจัดทำเป็น TOR สามารถติดต่อรับข้อมูลจากบริษัทฯ ได้ โปรดคลิกที่นี่ค่ะ

Read more »

ลดปัญหาเครื่องจักรเสียหาย ด้วยค่าควบคุม

ค่าควบคุม

ในขณะที่เครื่องจักรทำงาน มักมีคำถามที่ได้ยินบ่อยๆ ว่า การทำงานนั้นปกติหรือไม่ เราคงไม่สามารถแค่ยืนมองดูเฉยๆ แล้วตอบได้ว่าทำงานปกติ หรือผิดปกติ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรดังกล่าวได้จากค่าข้อมูลที่บอกสมรรถนะในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ปั๊มน้ำ หรือค่าความดันน้ำมันของปั๊มน้ำมันในระบบหล่อลื่น ฯลฯ เมื่อเครื่องจักรเริ่มมีปัญหา ค่าต่างๆ เหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนไป โดยอาจมีค่ามากขึ้น หรือลดลง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องจักร และหากเครื่องจักรมีความซับซ้อนมากขึ้นค่าสมรรถนะที่ต้องนำมาพิจารณาก็ต้องมีหลายจุดมากขึ้น เพื่อระบุให้ได้ว่าการทำงานที่ผิดปกตินั้นเริ่มเกิดขึ้นมากจากส่วนใดของเครื่องจักร เช่น ความผิดปกติของสารทำความเย็นในเครื่องทำน้ำเย็น ความผิดปกติของเครื่องรีดพลาสติก ฯลฯ การพิจารณาค่าสมรรถนะนี้ เราจะกำหนดค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้ หากพบว่าค่าดังกล่าวเกิน หรือต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้เบื้องต้น ให้ถือว่าเครื่องจักรเริ่มทำงานผิดปกติแล้ว และต้องหาสาเหตุแล้วแก้ไขต่อไป ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้นี้เราเรียกว่า ค่าควบคุม (Control Range) การนำค่า Control Range ไปใช้งานนั้นจะพบได้ในหลายรูปแบบ เช่น การคาดแถบสติกเกอร์สีที่เกจวัดต่างๆ และการกำหนดค่า Control Range ลงไปในแบบฟอร์มบันทึกการทำงานของเครื่องจักร หรือแบบฟอร์มการผลิต เป็นต้น

ค่าควบคุม (Control Range) แตกต่างจากค่าเป้าหมาย (Target) อย่างไร

จากประสบการณ์มักพบว่ามีความสับสนในการใช้งานระหว่างค่าควบคุม (Control Range) และค่าเป้าหมาย (Target) ว่าเมื่อใดที่ต้องดำเนินการหาสาเหตุ และมีการแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเนื่องเมื่อพบว่าค่าสมรรถนะนั้นมีค่าสูงกว่า หรือต่ำกว่าค่าควบคุม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น จึงขอสรุปข้อแตกต่าง และการอ้างอิงใช้งาน ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม…

WordPress Themes