ลดปัญหาเครื่องจักรเสียหาย ด้วยค่าควบคุม
ค่าควบคุม
ในขณะที่เครื่องจักรทำงาน มักมีคำถามที่ได้ยินบ่อยๆ ว่า การทำงานนั้นปกติหรือไม่ เราคงไม่สามารถแค่ยืนมองดูเฉยๆ แล้วตอบได้ว่าทำงานปกติ หรือผิดปกติ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรดังกล่าวได้จากค่าข้อมูลที่บอกสมรรถนะในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ปั๊มน้ำ หรือค่าความดันน้ำมันของปั๊มน้ำมันในระบบหล่อลื่น ฯลฯ เมื่อเครื่องจักรเริ่มมีปัญหา ค่าต่างๆ เหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนไป โดยอาจมีค่ามากขึ้น หรือลดลง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องจักร และหากเครื่องจักรมีความซับซ้อนมากขึ้นค่าสมรรถนะที่ต้องนำมาพิจารณาก็ต้องมีหลายจุดมากขึ้น เพื่อระบุให้ได้ว่าการทำงานที่ผิดปกตินั้นเริ่มเกิดขึ้นมากจากส่วนใดของเครื่องจักร เช่น ความผิดปกติของสารทำความเย็นในเครื่องทำน้ำเย็น ความผิดปกติของเครื่องรีดพลาสติก ฯลฯ การพิจารณาค่าสมรรถนะนี้ เราจะกำหนดค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้ หากพบว่าค่าดังกล่าวเกิน หรือต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้เบื้องต้น ให้ถือว่าเครื่องจักรเริ่มทำงานผิดปกติแล้ว และต้องหาสาเหตุแล้วแก้ไขต่อไป ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้นี้เราเรียกว่า ค่าควบคุม (Control Range) การนำค่า Control Range ไปใช้งานนั้นจะพบได้ในหลายรูปแบบ เช่น การคาดแถบสติกเกอร์สีที่เกจวัดต่างๆ และการกำหนดค่า Control Range ลงไปในแบบฟอร์มบันทึกการทำงานของเครื่องจักร หรือแบบฟอร์มการผลิต เป็นต้น
ค่าควบคุม (Control Range) แตกต่างจากค่าเป้าหมาย (Target) อย่างไร
จากประสบการณ์มักพบว่ามีความสับสนในการใช้งานระหว่างค่าควบคุม (Control Range) และค่าเป้าหมาย (Target) ว่าเมื่อใดที่ต้องดำเนินการหาสาเหตุ และมีการแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเนื่องเมื่อพบว่าค่าสมรรถนะนั้นมีค่าสูงกว่า หรือต่ำกว่าค่าควบคุม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น จึงขอสรุปข้อแตกต่าง และการอ้างอิงใช้งาน ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม…
No Comments
No comments yet.
RSS feed for comments on this post. TrackBack URI
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.