บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด หนึ่งในผู้ให้บริการบริหารอาคารชั้นนำของไทย เลือกใช้ระบบซอฟต์แวร์ Genedia Property Solutions เป็นเครื่องมือในการบริหารอาคารเอเชียเซ็นเตอร์ ถ.สาทรใต้ และอาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ สุขุมวิท
ชุดซอฟต์แวร์ Genedia Property Solutions โมดูลงานบริการ (Service Tracking) และโมดูลงานบำรุงรักษา (Maintenance Planning) เป็นชุดซอฟต์แวร์คู่หูที่ทรงประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ทำหน้าที่ให้บริการสำหรับการจัดการข้อมูลบริการ การตรวจสอบต้นทุน การใช้อะไหล่ คุณภาพงานบริการ ตลอดถึงการวางแผนและควบคุมแผนงานบำรุงรักษาของอาคาร ช่วยให้การบริหารงานอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
ระบบงาน Genedia Property Solutions มีการพัฒนาต่อยอดความสามารถของระบบออกไปตลอดเวลา เพื่อให้เป็นเครื่องมือชั้นเลิศที่จะเป็นผู้ช่วยในงานบริหารอาคารอย่างแท้จริง สนใจติดต่อขอชมการสาธิตระบบงาน ที่ 02-642-6201 หรือ sales@genedia.in.th, info@bonzen.co.th ได้นะคะ
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 คุณจิรวัฒน์ จงนิรามัยสถิต Technical Consultant จากบริษัท บนเส้น จำกัด เป็นวิทยากรรับเชิญร่วมบรรยายในหลักสูตร “การบริหารงานก่อสร้าง (แนวราบ-แนวสูง)” ของโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ในหัวข้อ “การจัดการเอกสารงานก่อสร้าง และการเตรียมเอกสารก่อนเปิดใช้อาคาร”
แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวการเพิ่มความร้อนให้กับภายในอาคาร ทำให้ระบบปรับอากาศต้องทำงานมากกว่าปกติ หน้าต่างประหยัดพลังงานจึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้ช่วยป้องกันแสงอาทิตย์ในหน้าร้อน เพื่อลดภาระระบบปรับอากาศ แต่เปิดรับแสงอาทิตย์ในหน้าหนาวเพื่อช่วยลดภาระระบบทำความร้อนในอาคาร
นวัตกรรมใหม่ชิ้นนี้ พัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ Sun Xiaowei และเพื่อนร่วมงานจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งคิดค้นหน้าต่างธรรมดาที่เราเห็นๆ กันอยู่ กลายมาเป็นหน้าต่างสุดล้ำที่สามารถช่วยนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ค่ะ หน้าต่างประกอบด้วยแผ่นกระจก 2 บานที่บรรจุสารอิเล็กโตรไลท์ไว้ภายในที่สามารถนำออกซิเจนได้ ตัวแผ่นกระจกด้านหนึ่งเคลือบด้วยฟอยล์อลูมิเนียม อีกด้านหนึ่งฉาบสารสีน้ำเงินที่มีความไวต่อออกซิเจน มีวงจรไฟฟ้าเล็กๆ เชื่อมอยู่ระหว่างแผ่นกระจกทั้งสอง
ในเวลาปกติ แผ่นกระจกจะใสเหมือนกระจกปกติ แต่เมื่อเปิดให้ระบบทำงาน และสามารถดึงออกซิเจนมาไว้ในอิเล็กโตรไลท์ได้ กระจกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งช่วยป้องกันแสงอาทิตย์ส่องผ่านได้ประมาณ 50% และยังได้กระแสไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ ที่สามารถนำมาใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างได้
ท่านที่สนใจสามารถศึกษางานวิจัยดังกล่าวนี้เพิ่มเติมได้ที่วารสาร Nature Communications ค่ะ
ที่มา : http://news.discovery.com/tech/alternative-power-sources/breathing-window-tints-to-bloack-sun-charges-itself-150105.htm