เผยศักยภาพ BigQuery ของ Google ในการนำข้อมูลขนาดใหญ่ลงไปใน Cloud

Google เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเซอร์วิสสำหรับการประมวลผมข้อมูลมากขึ้นในการสัมมนา New York GigoOM

วันที่ 21 มีนาคม 2012 เวลา 15:20 น. – ขณะที่การนำเสนอบทความเกี่ยวกับระบบที่มีกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่มักจะยึดหลักให้ระบบดังกล่าวถูกติดตั้งภายในองค์กร Google ได้สร้างเซอร์วิสที่ช่วยให้สามารถประมวลผลกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่ใน cloud ได้

เซอร์วิสที่เรียกว่า BigQuery จะช่วยให้องค์กรสามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องวางรากฐานโครงสร้างภายในซึ่ง Ju-Kay Kwek ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Google ได้พูดถึงประเด็นนี้ในการสัมมนาโครงสร้างข้อมูล GigaOm ที่จัดขึ้นสัปดาห์นี้ในนิวยอร์ก

Kwek กล่าวว่า ด้วยเซอร์วิส Big Query นี้ “คุณจะสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาและแชร์ข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบของเซอร์วิสได้” ในตอนนี้ Google ได้นำเสนอเซอร์วิสในโหมดพรีวิวให้แก่ลูกค้าจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม Kwek ยังไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนว่าเซอร์วิสนี้จะเปิดใช้ได้เต็มรูปแบบเมื่อใด

กลุ่มผู้บริหารของ Google มองเห็นหนทางที่จะนำเสนอ เนื่องจากพวกเขาได้ทำการพัฒนาเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในบริษัทบางส่วนแล้ว Kwek กล่าวว่า “เพียงแค่การแสดงผลในเว็บนั้นถือเป็นปัญหาการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ตั้งแต่ต้นแล้ว” นอกจากนี้บริษัทยังได้วิเคราะห์รูปแบบวิธีการใช้งานเซอร์วิสหลายประเภท อาทิเช่น Gmail ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้เห็นภาพคร่าวๆได้ว่าคุณสมบัติใดบ้างที่ใช้งานอยู่ หรืออันไหนไม่ถูกใช้งาน

กุญแจสู่ความสำเร็จในการประมวลผลข้อมูลของ Google คือการเก็บข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมาไว้ทั้งหมด Kwek กล่าวว่า “ข้อมูลที่มีความละเอียดมากก็คือกุญแจที่ว่านี้เอง” ในหลายๆครั้ง ถ้าพูดถึงเรื่องของการดึงข้อมูลมาใช้ วิศวกรของ Google ก็ไม่สามารถจะเตรียมโจทย์ล่วงหน้าได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาที่ดีก็คือตั้งโจทย์ง่ายๆให้มากที่สุด เขากล่าว “ถ้าได้โจทย์ง่ายๆมากเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถตั้งโจทย์ที่ยากขึ้นในภายหลังได้”

ผู้ทดลองใช้งานได้ทำการทดสอบเซอร์วิสในหลายๆทาง โดยลูกค้าจะอัพโหลดชุดข้อมูลและอัพเดทข้อมูลหลังจากที่ข้อมูลชุดนั้นถูกอัพโหลดเรียบร้อยแล้ว จากนั้นพวกเขาจะต้องสามารถใช้งานอัลกอริทึมของ Google และชุดภาษาสำหรับการเรียกข้อมูลเพื่อใช้งานกับกลุ่มข้อมูลดังกล่าว ผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์จะเรียกใช้เซอร์วิสในการรวบรวมข้อมูลที่ระบุว่าผู้ใช้งานได้กระทำการอะไรบ้าง และดูได้ว่าโฆษณาที่เผยแพร่อยู่นั้นประสบความสำเร็จแค่ไหน ขณะเดียวกัน ทางโรงแรมซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มจะใช้ข้อมูลในการจัดการรายได้ เก็บข้อมูลจากระบบการเงินหลายๆระบบเพื่อสร้างโครงสร้างของงบประมาณขึ้นมา

Kwek กล่าวว่า โมเดลของ Cloud สำหรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่มีประโยชน์มาก องค์กรไม่จำเป็นจะต้องค้นหาและจัดตั้งที่เก็บข้อมูลขึ้นมาเอง

“เรามีหน้าที่ดูแลงานทุกเครือข่าย”

ทั้งนี้ระบบความปลอดภัยและการกู้คืนข้อมูลถูกรวมไว้ในบริการด้วย ซึ่งนั่นทำให้ช่วย “ลดเวลาที่ต้องคอยสอดส่องดูแลข้อมูล”

หนึ่งในบริษัทผู้ใช้งาน คือ วีอาร์คลาวด์ (We Are Cloud) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Montpellier ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดทำระบบประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจในรูปแบบของ cloud service ชื่อว่า Bime ซึ่งได้ตีตลาดในเครือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งอาจไม่มีพนักงานดูแลระบบประมวลผลภายในองค์กร การทำงานของเซอร์วิสจะช่วยดึงข้อมูลจากหลายๆแหล่งพร้อมกันได้ เช่นจากฐานข้อมูลเชิงความสัมพันธ์ภายในองค์กร ซึ่ง Rachel Delacour ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทวีอาร์คลาวด์กล่าวว่า ลูกค้า “ต้องการเครื่องมือที่สามารถประมวลผลได้ด้วยตัวเอง”

ดังนั้นกลุ่มบริษัทเหล่านี้จึงถือเป็นบริษัทผู้ใช้งานในระดับเบต้า ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเสนอเซอร์วิส BigQuery ให้แก่ลูกค้าของพวกเขาอีกทีได้ บริษัทโทรคมนาคมที่ไม่เปิดเผยชื่อแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในแถบตะวันออกกลาง ได้ทำการอัพโหลดข้อมูลลูกค้าขนาด 15 เทราไบต์ ซึ่งพวกเขาสามารถประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ได้โดยใช้ Bime ทั้งนี้ Delacour กล่าวว่าเธอไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า Google เรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการเก็บข้อมูลมากเท่าไรแต่อัตราของค่าบริการนั้นอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล

Delacour กล่าวถึง BigQueryในการสัมภาษณ์หลังการสัมมนาว่า “แนวคิดนี้ค่อนข้างดีสำหรับระบบที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งคุณจะได้เข้าใกล้การตอบสนองแบบเรียลไทม์ในระดับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้”

ที่มา: http://www.itworld.com/business-intelligence/260778/googles-bigquery-brings-big-data-cloud

No Comments

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

You must be logged in to post a comment.

WordPress Themes