ทีมวิจัย ม.วอชิงตัน นำคาร์บอนไฟเบอร์มารีไซเคิลสร้างถนนเพื่อให้น้ำซึมผ่านได้
ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตันกำลังแก้ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพายุฝน โดยนักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถทำให้น้ำไหลซึมผ่านทางเท้าได้มากขึ้นโดยการผสมคาร์บอนไฟเบอร์ที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมลงไป วิธีการรีไซเคิลของพวกเขาอธิบายไว้ในวารสาร The Journal of Materials in Civil Engineering ฉบับเดือนมีนาคม ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานหรือสารเคมีมากนัก ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยสำคัญในการรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้
ผลที่ได้คือ เราจะได้ถนนที่แตกต่างจากถนนแบบเดิม ถนนแบบผสมคาร์บอนไฟเบอร์นั้นน้ำฝนสามารถซึมผ่านได้อย่างอิสระและสามารถระบายน้ำเข้าไปใต้พื้นได้ดี ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับน้ำท่วมในเขตตัวเมือง
ซึ่งแต่เดิมในหลายเมืองมีการใช้คอนกรีตที่มีรูพรุนโดยไม่มีการเสริมความแข็งแรงในลานจอดรถและถนนที่มีการจราจรต่ำ แต่เนื่องจากมีความเป็นรูพรุนสูงทำให้ไม่ทนทานเท่าคอนกรีตแบบที่มีความตันทั่วไปที่ใช้บนถนนสายหลัก
ปัจจุบันวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม เป็นวัสดุที่ใช้ทำได้ตั้งแต่ปีกเครื่องบิน กังหันลม และรถยนต์ ในขณะที่ตลาดมีการเติบโตประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่ทางโรงงานอุตสาหกรรมกลับยังไม่ได้คิดหาแนวทางในการรีไซเคิลของเสียจากกระบวนการผลิตที่มีมากถึงร้อยละ 30 ของวัสดุที่ใช้ในการผลิต
การวิจัยในครั้งนี้นำโดย Karl Englund รองศาสตราจารย์วิจัย และ Somayeh Nassiri ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับ บริษัท โบอิ้ง โดยนักวิจัยได้เพิ่มเศษวัสดุผสมคาร์บอนไฟเบอร์ที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิตที่ได้รับจากโรงงานผลิตโบอิ้ง ไปจนถึงคอนกรีตผสมเสร็จ พวกเขาได้ใช้เครื่องกัดเชิงกลเพื่อปรับแต่งส่วนประกอบต่างๆ สร้างพื้นผิวถนนที่มีความเหมาะทั้งขนาดและรูปร่าง ทำให้ได้คอนกรีตแบบมีรูพรุนที่มีความแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมมาก อีกทั้งยังช่วยให้ระบายน้ำบนท้องถนนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะต้องวางให้ทั่วทางเท้าเพื่อให้มีความสม่ำเสมอ
นักวิจัยใช้เทคนิคการกัดกร่อนที่ไม่แพงนี้แทนการใช้ความร้อนหรือสารเคมี เพื่อสร้างองค์ประกอบเสริมจากวัสดุผสมคาร์บอนไฟเบอร์ที่ใช้แล้ว พวกเขาเก็บรักษาและใช้ประโยชน์จากความแข็งแรงเดิมของตัววัสดุผสมที่ได้ การผสมของพวกเขายังต้องใช้ส่วนผสมอีกจำนวนมากซึ่งเหมาะสำหรับผู้ผลิตขยะ
Englund กล่าวว่า “เมื่อคุณเสียเงินไปแล้ว คุณคงไม่เพิ่มเงินเพื่อเก็บขยะและซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอีก สิ่งสำคัญคือการลดพลังงาน และลดต้นทุนลงต่างหาก”
ในขณะที่นักวิจัยได้แสดงประสิทธิภาพของวัสดุนี้ในห้องปฏิบัติการ และได้เริ่มทำการทดสอบการใช้งานจริงกับทางเท้า พวกเขาก็ได้เริ่มทำงานร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเริ่มต้นทำการจำหน่าย
“ในห้องปฏิบัติการนี้เราสามารถเพิ่มความทนทานและความแข็งแรงของทางเดินที่มีรูพรุนให้น้ำซึมได้” Nassiri กล่าว “ขั้นตอนต่อไปคือการหาวิธีที่จะทำให้มันสามารถใช้งานได้อย่างแพร่หลาย”
ที่มา: https://www.sciencedaily.com/releases/2018/03/180301094851.htm
No Comments
No comments yet.
RSS feed for comments on this post. TrackBack URI
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.