‘Astrocyte’ ระบบเสียงมีชีวิตที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้

เมืองโตรอนโตได้จัดนิทรรศการการออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี (EDIT 2017) เป็นเวลา 10 วัน โดยงานที่จัดขึ้นนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนการออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และในปีนี้กลุ่มสถาปัตยกรรมระบบที่มีชีวิต (LAS) ได้ร่วมมือกับศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ และวิศวกรในการสร้าง Astrocyte ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนที่มีความรู้สึกและสามารถสื่อสารกับผู้ชมได้ ผู้นำโครงการนี้คือ Philip Beesley เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ถึงการวิจัยระบบสถาปัตยกรรมที่มีชีวิตของโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ เพื่อนำสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมรวมเข้ากับการประดิษฐ์ระบบดิจิตอลและผสานเข้าด้วยกัน

คำว่า Astrocyte มาจากภาษากรีก (Astro หมายถึงดวงดาว และ Kytos หมายถึงเซลล์) นั่นคือ เซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์ที่มีจำนวนมากที่สุดในระบบประสาทส่วนกลางและมีความหลากหลายมากที่สุด โดยการติดตั้ง LAS จะประกอบด้วยองค์ประกอบที่หลากหลายมากกว่า 300,000 ชิ้น ซึ่งประกอบไปด้วยซิมโฟนี่บำบัดที่ทำจากอะคริลิค ฟางข้าว เซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ ไฟแบบ 3 มิติ สารอนินทรีย์ และเครื่องแก้วที่ออกแบบเอง

โครงข่าย Astrocytes เหล่านี้มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับแรงกดและการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน ซึ่งชิ้นส่วนนี้จะตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของผู้ชมด้วยรูปแบบของแสง การสั่นสะเทือน และคลื่นเสียง ทีมของ Philip Beesley ได้สร้างสรรค์ประสบการณ์ในการรับฟังโดยร่วมมือกับศิลปินที่มีความสามารถทางด้านเสียงแบบ 4D Sound

ภายในแก้วที่เห็นนั้น จะมีเคมีประดิษฐ์ที่จะเตือนผู้ชมด้วยประกายไฟแห่งชีวิต และด้วยการพัฒนาจากการทดสอบซ้ำครั้งแรกด้วยการรวมกันระหว่างน้ำมัน สารเคมี และแก้ว อาจนำไปสู่การฟื้นฟูพื้นผิวอาคารรูปแบบใหม่ในอนาคต คุณลักษณะของงาน EDIT นั้น Astrocyte เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการทดลองวัฒนธรรมสหวิทยาการของมหาวิทยาลัย Waterloo โดยตรง โดยการสนับสนุนขององค์กรให้ทุนวิจัยหลักของรัฐบาลแคนาดา Social Sciences And Humanities Rresearch Council และสภาศิลปะ Ontario

ที่มา: https://www.designboom.com/design/astrocyte-living-architecture-systems-group-12-13-2017/

No Comments

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

You must be logged in to post a comment.

WordPress Themes