หุ่นยนต์พิมพ์สิ่งปลูกสร้างแบบ 3 มิติได้ภายใน 14 ชั่วโมง
ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ได้สร้างระบบหุ่นยนต์ ที่สามารถพิมพ์โครงสร้างพื้นฐานของอาคารแบบ 3 มิติ (3D) ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงโดมกว้าง 50 ฟุต และมีความสูง 12 ฟุต สำเร็จได้ภายในเวลาไม่ถึง 14 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้ได้ต้นแบบมาจากเครื่องจักรอุตหกรรมขนาดใหญ่ โดยจะมีทั้งแขนกลขนาดใหญ่สำหรับงานที่เข้าถึงได้ง่าย และแขนกลขนาดเล็กสำหรับงานที่ต้องอาศัยความชำนาญ ซึ่งจะติดเครื่องมือที่แตกต่างกันไปกับแขนกลขนาดเล็ก เช่น ระบบเชื่อม หรือฉีดพ่นที่วัสดุก่อสร้างอย่างเช่นโฟม
“ด้วยกระบวนการนี้ เราสามารถใช้แทนที่ชิ้นส่วนที่สำคัญบางชิ้นในการสร้างอาคารได้ในตอนนี้ และอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างในอนาคต” Steven Keating ผู้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Robotics กล่าว
นักวิจัยกล่าวว่า เทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้สร้างอาคารได้เร็วขึ้น มีราคาถูกลง และปรับใช้งานได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการก่อสร้างแบบเดิมๆ และไม่เหมือนระบบการพิมพ์ 3D แบบอื่นๆ เนื่องจากระบบของหุ่นยนต์นี้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ จึงสามารถสร้างวัตถุขนาดใดก็ได้
ระบบของ MIT นี้เรียกว่า “แพลตฟอร์มการก่อสร้างแบบดิจิทัล” (Digital Construction Platform) จุดประสงค์คือการทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบัน ยังคงต้องใช้มนุษย์ตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย ซึ่งในการทดสอบนี้ นักวิจัยได้ตั้งโปรแกรมต้นแบบเพื่อสร้างโดม โดยใช้สเปรย์โฟมที่ใช้กันทั่วไป ระบบทั้งหมดนี้สามารถใช้พลังงานจากไฟฟ้าหรือพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้
อุตสาหกรรมการพิมพ์ 3D มีการเติบโตขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ Apis Cor ได้เริ่มสร้างบ้านขนาด 400 ตารางฟุตในรัสเซีย โดยใช้วัสดุมูลค่าประมาณ 10,000 เหรียญและหุ่นยนต์สำหรับพิมพ์ 3D ในปี 2015 Oak Ridge National Laboratory 3D ได้พิมพ์บ้านมือถือและปราสาทหลังบ้านที่สร้างขึ้นในรูปแบบ 3D โดยถูกสร้างขึ้นในรัฐ Minnesota เมื่อปีที่แล้ว
นักวิจัยของ MIT ต้องการปรับใช้ระบบนี้ในพื้นที่ห่างไกล เช่น ในประเทศกำลังพัฒนา หรือในพื้นที่บรรเทาภัยพิบัติ เช่น หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เพื่อให้ที่พักพิงได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นอาจใช้เวลาอีก 5 ถึง 10 ปี, Keating กล่าวกับ CNNTech
สำหรับวิสัยทัศน์ในระยะยาว มันคือระบบที่สามารถทำงานในสถานที่ต่างๆ ได้ เช่น แอนตาร์กติกา ดวงจันทร์ และดาวอังคาร เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น น้ำแข็ง หรือฝุ่นดวงจันทร์ Keating ปฏิเสธที่จะระบุระยะเวลา แต่เขาบอกว่าเทคโนโลยีเช่นนี้ อาจพร้อมใช้งานภายใน 50 ปีหรือเร็วกว่านี้
ที่มา: http://money.cnn.com/2017/05/02/technology/3d-printed-building-mit/index.html
No Comments
No comments yet.
RSS feed for comments on this post. TrackBack URI
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.