UWE สร้าง “อิฐอัจฉริยะ” ที่สามารถสร้างพลังงานและรีไซเคิลน้ำผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี
University of the West of England หรือ UWE แห่งเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ ได้คิดค้น “อิฐอัจฉริยะ” ที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าจากแสงแดด และรีไซเคิลน้ำเสีย ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีแบบใหม่ได้
ในเว็ปไซต์ของ UWE ได้ระบุไว้ในโครงการ “สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย” (Living Architecture หรือ LIAR) ที่กำลังจะดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลและผู้เชี่ยวชาญจากเมืองเทนโท, ฟลอเรนส์, สภาวิจัยแห่งชาติของสเปน รวมถึง LIQUIFER system group และ EXPLORA เพื่อนำ Mircobial Fuel Cells (MFC: เซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์) ฝังลงไปในอิฐ ซึ่งจะทำให้อิฐเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง, สภาพแวดล้อม และปรับตัวให้เข้ากับจำนวนของคนที่อาศัยอยู่ในตึก รวมถึงการเพิ่มประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
ศาสตราจารย์ Loannis Leropoulos ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานชีวภาพบริสตอล (BBiC) ได้พูดที่ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์แห่ง UWE เมืองบริสตอล ว่า
“เซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ เป็นก้อนพลังงานที่ใช้ประโยชน์จากการย่อยสลายของส่วนประกอบจุลินทรีย์ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า”
“นี่เป็นการประยุกต์ใช้เซลล์เชื้อเพลิง MFC เพื่อผลิตวัสดุสำหรับงานก่อสร้างที่เป็นส่วนหนึ่งของผนังโครงสร้าง ซึ่งช่วยเพิ่มความเป็นไปได้อย่างหลากหลายในการจัดการกับขยะภายในครัวเรือน, สร้างกระแสไฟฟ้าสำหรับการใช้งานได้ และผนังที่มี “ระบบการสั่งการ” ภายในที่อยู่อาศัย”
ศาสตราจารย์ Andrew Adamatzky ผู้อำนวยการโครงการสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยสไตล์ยุโรปแห่ง UWE เมืองบริสตอล ได้กล่าวต่อ
“เทคโนโลยีต่างๆ ที่เรากำลังพัฒนา จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถานที่ที่เราอาศัยอยู่และทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมไปกับมันได้”
“อิฐอัจฉริยะแต่ละก้อนเปรียบเสมือนกับคอมพิวเตอร์แต่ละหน่วย สิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยอิฐพวกนี้จะเหมือนกับมีหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องอยู่ในนั้น”
No Comments
No comments yet.
RSS feed for comments on this post. TrackBack URI
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.