ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ผลักดันกลยุทธ์ใหม่ด้วย Flash กับ F Series และ Flash Arrays
เทคโนโลยีความจำแบบ Flash หรือความจำที่ไม่ได้ใช้จานหมุน สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสุ่มหรือการจัดเรียงข้อมูลช่วยให้การใช้งานแอพพลิเคชั่น ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น Flash ใช้พลังงานน้อยไม่มีแกนต้องเคลื่อนที่และต้องระบายความร้อน ช่วยลดการทำงานของ Data Center ลงได้ มีการโอนถ่ายข้อมูลที่ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น กระแสความนิยมในสื่อบันทึกข้อมูลเหล่านี้จึงเพิ่มมากขึ้น
ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยี Flash ได้เข้ามามีบทบาทกับเรามากขึ้น บริษัทจำนวนมากทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เริ่มหันไปใช้เทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Flash–Based เพื่อช่วยให้ระบบไอทีตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีความต้องการที่จะใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีแบบ All-Flash ดังนั้น ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงประกาศแนวทางการแก้ปัญหาด้วย Hitachi Flash Portfolio ใหม่ ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง พร้อมให้บริการในรูปแบบอัตโนมัติ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งจะคุ้มราคามากกว่าระบบเทคโนโลยี Disk-Based แบบเก่า
ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีใหม่ทั้งหมดด้วย Flash และ Hybrid Flash Arrays โดย Hitachi Flash Portfolio จะประกอบด้วยระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่แบบ All-flash และ Hybrid Flash Arrays รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขยายความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
การขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัวใหม่นี้ จะเป็นการรวมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ All-flash เข้ากับซอฟต์แวร์อัตโนมัติ โดยสามารถส่งมอบประสิทธิภาพที่สูงมากได้ถึง 1.4 ล้าน IOPS (IOPS หรือ Input/Output Operations Per Second คือ จำนวนคำสั่งอ่าน/เขียนที่ทำได้ต่อวินาที) แม้จะเป็นการขยายความจุที่สูงสุดแล้วก็ตาม แต่ก็ใช้เวลาในการส่งข้อมูลน้อยกว่า 1ms ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในด้านแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงมีระบบบีบอัดข้อมูลใหม่แบบ Inline ที่เรียกว่า FMD DC2 (Flash Modules) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของความจุข้อมูล มีการรับประกันความพร้อมใช้งานของข้อมูลถึง 100% โดยที่ F Series จะสามารถขยายความจุได้ตั้งแต่ขนาด 12.8TB ไปจนถึง 448TB และสามารถเลือกการทำสำเนาข้อมูลได้ทั้งแบบ Synchronous และแบบ Asynchronous
FMD DC2 ได้รับการออกแบบเพื่อที่จะยกระดับความเร็วด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Parallelized ช่วยให้สามารถ Write IOPS ได้ถึง 5 เท่า และ Read IOPS ได้ 3 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบ SSDs
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี Multi-Queuing ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ช่วยให้ IO สามารถจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานก่อน-หลังได้ สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึง Application ต่างๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตได้ สามารถนำมาใช้ตรวจสอบ วิเคราะห์ปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งยังช่วยวางแผนกำลังการผลิตได้อีกด้วย
No Comments
No comments yet.
RSS feed for comments on this post. TrackBack URI
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.